วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

การผลักภาระภาษีไปข้างหน้า และการผลักภาระภาษีไปข้างหลัง

ก่อนที่เราจะเริ่มทำความเข้าใจว่า การผลักภาระภาษีคืออะไร        เราจำเป็นที่จะต้องทราบก่อนว่า  ภาษีคืออะไร เสียก่อน

ภาษีคือ ส่วนต่างของรายได้ที่แท้จริง ที่รัฐบาลจัดเก็บจากประชาชน กล่าวคือ หากนาย A ได้รับเงินเดือน เป็นจำนวนเงิน 100 บาทต่อเดือน นาย A โดนเรียกเก็บภาษีการค้าจำนวน 10% จากรายได้ ดังนั้นนาย A จะได้รับรายได้ 100-10 = 90 บาทต่อเดือน ดังนั้น 10บาท ที่ถูกหักออกจากรายได้ของนาย A คือส่วนของภาษีนั่นเอง

ภาษี สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1. ภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีประเภทนี้รัฐเก็บจากผู้เสียภาษีโดยตรง ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้
2. ภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากรนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีประเภทนี้รัฐเก็บจากการซื้อขายสินค้าและบริการ ซึ่งผู้ขายสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้ซือโดยการบวกภาษีเข้าไปในราคาสินค้า หรือผลักภาระภาษีไปให้ suppliers โดยการกดราคาสินค้าเพื่อชดเชยค่าภาษีได้

      จากข้อมูลข้างต้น จะทำให้ทราบว่า การผลักภาระภาษีนั้น ไม่สามารถใช้ได้กับภาษีทุกชนิด เพราะภาษีบางชนิดต้องเป็นการเฉพาะตัวเท่านั้นเช่น ภาษีรายได้ส่วนบุคคล รายได้นิติบุคคล และอื่นๆ โดยภาษีข้างต้นที่กล่าวมานั้นจำเป็นต้องจ่ายเป็นการส่วนตัว

การผลักภาระภาษีสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1. การผลักภาระภาษีไปข้างหน้า
2. การผลักภาระภาษีไปข้างหลัง

  การผลักภาระภาษีไปข้างหน้า
การผลักภาระภาษีไปข้างหน้า คือ การผลักภาระการจ่ายภาษีทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้กับผู้บริโภครับผิดชอบ โดยการเพิ่มราคาสินค้าที่ผลิต
 ตัวอย่างเช่น โรงงานของนาย ไก่ ผลิตสินค้า ผ้าปูที่นอน เพื่ออกจำหน่ายแก่ตลาด ในราคาผืนละ 100 บาท โดยมีต้นทุนการผลิต 80 บาท  นายไก่จึงได้รับกำไรจากการผลิต 20 บาท แต่ภาษีการค้าทำให้รายได้ของนายไก่ลดลง หากภาษีเก็บในอัตราร้อยละ 10% จะทำให้นายไก่ได้รับรายได้ลดลง 10 บาท
นาย ไก่ จึงต้องการผลักภาระภาษีเพื่อให้ได้กำไร 20 บาท นายไก่จึง เพิ่มราคาสินค้าผ้าปูที่นอนอีก 10 บาท และขายในราคา 110 บาท เมื่อหักภาษีการค้าแล้ว นายไก่จะได้รับกำไร 20 บาท ตามที่ต้องการ
ตามตัวอย่างข้างต้นนี้ คือการผลักภาระภาษีไปข้างหน้านั่นเอง

การผลักภาระภาษีไปข้างหน้า สามารถทำได้โดยง่ายหากเป็นตลาดผูกขาด  ตลาดผูกขาดคือการที่สินค้าที่ผลิตนั้นมีจำนวนผู้แข่งขันน้อย หรือไม่มีผู้แข่งขันทางสินค้า เพราะการขึ้นราคาสินค้าเพื่อผลักภาระภาษีไปข้างหน้านั้น ทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกอื่นที่บริโภค 
  หากตลาดมีการค้าที่เสรี หรือการแข่งขันสูง จะทำให้การผลักภาระภาษีไปข้างหน้านั้นยากขึ้น เพราะสินค้าตัวนั้นมีการแข่งขันราคาสูง เช่น นายไก่เพิ่มราคาสินค้าอีก 10 บาท เป็น 110 บาท หากตลาดมีการแข่งขันที่สูง จะทำให้ผู้บริโภคหันไปเลือกซื้อสินค้าชนิดเดียวกันแต่ยี่ห้ออื่นในราคาที่ต่ำกว่า การผลักภาระภาษีไปข้างหน้าจึงไม่เหมาะกับตลาดที่มีการแข่งขันเสรี

 การผลักภาระภาษีไปข้างหลัง
การผลักภาระภาษีไปข้างหลัง คือ การลดปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ
ตัวอย่างเช่น  ต่อมานายไก่พบว่าราคาผ้าปูที่นอนของตนมีราคาสูงกว่าคู่แข่งในตลาด ซึ่งส่วนใหญ่ทั่วไปสินค้าคุณภาพเดียวกันขายเพียง 100 บาท ดังนั้น นายไก่จึงหาทางออกด้วยการลดต้นทุนการผลิตลง เพื่อให้ได้กำไรเท่าเดิม    นั่นหมายถึง เดิมต้นทุนการผลิต                                                        80          บาท
                           นายไก่ลดการจ้างงานลงประหยัดต้นทุนได้                       10          บาท
                           ดังนั้นต้นทุนการผลิต = 80-10                                =      70          บาท
                           นายไก่ สามารถขายสินค้าราคาเดียวกับคู่แข่ง                   100         บาท
                           นายไก่เสียภาษี10% ดังนั้นกำไร = 100-70-10          =       20         บาท






___________________________________________________________________________

แหล่งข้อมูล
-ขจร สาธุพันธุ์. (2523). การภาษีอากร. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
-ดร.อรัญ ธรรมโน. (2549). ความรู้ทั่วไปทางการคลัง(ฉบับปรับปรุง)
-นางเรวดี ช้างบุญชู. 2556. การผลักภาระภาษี(ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:ZwRsKS8lGd8J:www.ismed.or.th/SME/src/upload/knowledge/117144322045d2ce1458125.pdf+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th